ความยั่งยืน
การสร้างประเทศไทยที่ยั่งยืน การสร้าง ประเทศไทยที่ยั่งยืน
โครงการด้านความยั่งยืนในประเทศไทยนั้นมาจากการนำแนวทางระดับโลกของบริษัทมาปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคมและประชากรไทย และเพื่อให้สอดคล้องกับค่านิยมเรื่อง "การเติบโตอย่างยั่งยืน" และ "การตอบแทนกลับคืนสู่สังคม" เราได้กำหนดประเด็นหลักด้านความยั่งยืน 4 หัวข้อ ได้แก่ น้ำดื่มที่ปลอดภัยและการสุขาภิบาล (Clean Water and Sanitation), การมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (Good Health and Well-Being), การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production), และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ทั้งนี้ จากทั้ง 4 หัวข้อ "น้ำดื่มที่ปลอดภัยและการสุขาภิบาล" และ "การมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี" เป็น 2 ประเด็นหลักที่เราให้ความสำคัญสูงสุดและดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวมาอย่างยาวนานที่สุด
ประเด็นหลัก
ด้านความยั่งยืน
4 หัวข้อ
6
น้ำดื่มที่ปลอดภัยและการสุขาภิบาล
3
การมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี
12
การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
13
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ
การสร้างประเทศไทยที่ยั่งยืน
น้ำดื่มที่ปลอดภัยและการสุขาภิบาล
โครงการ 1
โครงการมิซุอิกุ เรารักษ์น้ำ
ธุรกิจของซันโทรี่จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากไม่มีน้ำ เราจึงมุ่งมั่นส่งเสริมระบบนิเวศที่สมบูรณ์ของป่าที่เป็นแหล่งผลิตน้ำใต้ดินที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ของเรา ในปี พ.ศ. 2547 โครงการมิซุอิกุ ซึ่งเป็นโครงการด้านการศึกษาธรรมชาติและน้ำ ถือกำเนิดขึ้นในญี่ปุ่นเพื่อยกระดับองค์ความรู้เรื่องการปกป้องรักษาทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม โดยในภาษาญี่ปุ่น "มิซุ" แปลว่าน้ำ และ "อิกุ" แปลว่าการศึกษา
สำหรับในประเทศไทย โครงการดังกล่าวได้ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2564 ผ่านความร่วมมือกับ "the Environmental Education Center" (EEC) โดยมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้จากการลงมือทำผ่าน "ห้องเรียนธรรมชาติ" เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงปฏิบัติและทักษะในการปรับตัวให้กับเยาวชน
ในปี พ.ศ. 2564 โครงการได้เริ่มต้นขึ้นที่ จ. ภูเก็ต โดยสนับสนุนการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด ความสำเร็จจากการดำเนินโครงการครั้งแรกนำไปสู่การขยายผลสู่ จ. ระยองในปีถัดมา ซึ่งเราร่วมมือกับสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย (RILA) ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวยั่งยืนและสร้างให้ระยองเป็นจังหวัดต้นแบบด้านการศึกษาเพื่ออนุรักษ์น้ำ นอกจากนี้ เราตระหนักถึงบทบาทของครูในการส่งต่อองค์ความรู้ให้กับนักเรียนและสมาชิกชุมชนอย่างยั่งยืน เราจึงจัดฝึกอบรม "Train the Trainers" เพื่อช่วยให้ครูสามารถออกแบบหลักสูตรการสอนเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อมและจุดประกายให้นักเรียนเป็น "ผู้นำการเปลี่ยนแปลง"
ในปี พ.ศ. 2566 เราร่วมมือกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขยายโครงการในระดับประเทศ โดยยังคงใช้แนวทาง "ห้องเรียนธรรมชาติ" ในการสอนเรื่องความสำคัญของแหล่งน้ำที่หลากหลาย ได้แก่ แหล่งต้นน้ำใน จ. เชียงราย กลางน้ำใน จ. อุบลราชธานี ปลายน้ำใน จ. ฉะเชิงเทรา และน้ำทะเลใน จ. กระบี่
ในปี พ.ศ. 2567 เราได้ยกระดับโครงการขึ้นเป็น "วัน ซันโทรี่ มิซุอิกุ: เรารักษ์น้ำ" ผ่านความร่วมมือกับซันโทรี่ เป๊บซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) และซันโทรี่ โฮลดิ้งส์ เพื่อระดมทรัพยากรและความเชี่ยวชาญ โดยภายใต้กิจกรรม "ค่ายมิซุอิกุ ผู้พิทักษ์รักษ์น้ำ" เราได้จัดแคมป์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนและครูกว่า 500 คน จาก 30 โรงเรียนใน จ. ระยองและชลบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่บริษัททั้งสองมีโรงงานตั้งอยู่ มาร่วมกิจกรรมการศึกษาเพื่ออนุรักษ์น้ำใน จ. ระยอง นอกจากนี้ ภายใต้กิจกรรม "โรงเรียนต้นแบบรักษ์น้ำ มิซุอิกุ" เรายังมอบความช่วยเหลือทางการเงินให้กับทั้ง 30 โรงเรียนเพื่อนำไปดำเนินโครงการอนุรักษ์น้ำในโรงเรียนและชุมชนโดยรอบ โดยโรงเรียนผู้ชนะจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม หนึ่งโรงเรียนจากแต่ละจังหวัด จะได้ไปทัศนศึกษาเพื่อเรียนรู้ต้นกำเนิดโครงการ "มิซุอิกุ" ที่ญี่ปุ่น
37.8K 37.8K 37.8K
จำนวนนักเรียนที่ได้รับองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อม
150 150 150
จำนวนครูที่ได้รับองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนเพื่อให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างยั่งยืน
69 69 69
จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
80 80 80
จำนวนพนักงานจิตอาสาที่เข้าร่วมในโครงการเพื่อช่วยเหลือนักเรียนในกิจกรรมการเรียนรู้
การมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี
ที่ซันโทรี่ เราเชื่อว่าเราสามารถทำอะไรได้มากกว่าการนำเสนอผลิตภัณฑ์ เรายึดมั่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับทุก ๆ คนรอบตัวไปพร้อม ๆ กับการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งนอกเหนือจากการปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำแล้ว ในฐานะผู้นำด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เรายังทุ่มเทให้กับการส่งเสริม "การมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี" ผ่านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และการดำเนินโครงการที่ยกระดับการดำรงชีวิตของประชากรไทย นอกจากนี้ เรายังมีเป้าหมายที่จะพัฒนาการศึกษา ในฐานะพื้นฐานที่จะช่วยให้ผู้คนสามารถดำรงชีวิตในรูปแบบที่ดีต่อสุขภาพและมีความหมาย โดยเราได้ดำเนิน 4 โครงการภายใต้หัวข้อนี้ ได้แก่ "แบรนด์ ยัง บลัด" "แคมเปญขับขี่ปลอดภัย" "แบรนด์ ซัมเมอร์แคมป์" และ "แบรนด์ เบรนด์แคมป์"
โครงการ 1
แบรนด์ ยัง บลัด
โครงการดังกล่าวริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ภายใต้ความร่วมมือกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เพื่อบรรเทาปัญหาปริมาณโลหิตสำรองไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น โรคระบาด หรือช่วงเทศกาลที่มีอุบัติเหตุทางรถยนต์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก กิจกรรมภายใต้โครงการได้ถูกจัดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปบริจาคโลหิตเป็นประจำเพื่อช่วยชีวิตมนุษย์ ผ่านการปลูกจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และการมอบองค์ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนการบริจาค เพื่อให้ได้โลหิตคุณภาพดีจากผู้บริจาคที่มีสุขภาพแข็งแรง
กิจกรรมหลัก ๆ ภายใต้โครงการ ได้แก่ การจัดหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ในมหาวิทยาลัยและงานประกวดประจำปี เพื่อสนับสนุนให้เกิดการบริจาคและสร้างความตระหนักรู้ในหมู่นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนสภากาชาดในการจัดหน่วยบริจาคเคลื่อนที่ในมหาวิทยาลัย เราได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมดังกล่าวและมอบผลิตภัณฑ์แบรนด์ซุปไก่สกัดให้กับผู้บริจาคเพื่อช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย
งานประกวดจะถูกจัดขึ้นด้วยหัวข้อที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี เพื่อรณรงค์ให้เกิดผู้บริจาคใหม่ในวงกว้าง โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษามหาวิทยาลัยและเยาวชนอายุระหว่าง 17-22 ปี เข้าร่วมส่งผลงานชิงรางวัล หัวข้อในการประกวด มุ่งเน้นการให้ความรู้เรื่องการเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้เยาวชนบริจาคโลหิต และการสร้างความเข้าใจเรื่องการบริจาคอย่างปลอดภัย ซึ่งนอกเหนือจากรางวัลแล้ว ผู้ชนะยังจะได้รับโอกาสในการเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย อีกด้วย
1.8 ล้าน 1.8 ล้าน 1.8 ล้าน
หน่วยโลหิต (หรือ 831,967,200 ซีซี) ที่ได้รับบริจาคผ่านโครงการ
431 431 431
จำนวนครั้งของการออกหน่วยรับบริจาคโลหิตในมหาวิทยาลัย
31 ล้าน 31 ล้าน 31 ล้าน
จำนวนครั้งของการบริจาคโลหิตโดยนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยภายใต้การออกหน่วยในมหาวิทยาลัย
โครงการ 2
แคมเปญขับขี่ปลอดภัย
แคมเปญดังกล่าวริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2550 เพื่อส่งเสริมการขับขี่อย่างปลอดภัยที่มุ่งเพิ่มสมาธิของผู้ขับขี่และความจดจ่อบนท้องถนนผ่านคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ภายใต้ความร่วมมือกับตำรวจทางหลวง ตำรวจจราจร และตำรวจท่องเที่ยว เราได้มอบผลิตภัณฑ์แบรนด์ซุปไก่สกัด 50,000 - 100,000 ขวดให้แก่ผู้ใช้เส้นทางในกรุงเทพฯ และทางหลวงในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศในแต่ละปี เพื่อสนับสนุนการเดินทางอย่างปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลหยุดยาว เช่น สงกรานต์ และปีใหม่
ในปี พ.ศ. 2567 แคมเปญ "สมองตื่น มีสมาธิ ขับขี่ปลอดภัย" ยังคงสานต่อความมุ่งมั่นที่จะยกระดับสุขภาวะที่ดีของประชากรผ่านผลิตภัณฑ์ของเรา แบรนด์ซุปไก่สกัดกว่า 50,000 ขวดได้ถูกแจกจ่ายให้ผู้ขับขี่และผู้ร่วมเดินทางในช่วง 7 วันเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายน นอกจากนี้ ยังได้มีการเผยแพร่ข้อมูลคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะบทบาทของคาร์โนซีนในการช่วยส่งเสริมสุขภาพของสมอง เพิ่มสมาธิ และชะลอความเหนื่อยล้าอีกด้วย
2 ล้าน 2 ล้าน 2 ล้าน
จำนวนผู้ขับขี่และผู้เดินทางที่ได้รับซุปไก่สกัด
โครงการ 3
แบรนด์ ซัมเมอร์แคมป์
ด้วยความมุ่งมั่นของเราที่จะสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาเพื่อยกระดับสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของประชากรไทยในระยะยาว เราได้ดำเนินโครงการ "แบรนด์ ซัมเมอร์แคมป์" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะเราตระหนักถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะช่วงเวลาสำคัญของชีวิต และความจำเป็นของการเตรียมตัวเพื่อให้สมองทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ เราจึงจัดให้เยาวชนที่กำลังจะสอบได้ติวเข้มกับคณาจารย์ชั้นนำ พร้อมมอบคู่มือเตรียมสอบฟรีทั้งสายศิลป์และสายวิทย์ โดยในปัจจุบัน โครงการได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบดิจิทัลเพื่อให้นักเรียนทั่วทั้งประเทศสามารถเข้าถึงได้
1.5 ล้าน 1.5 ล้าน 1.5 ล้าน
ผู้ได้รับการสนับสนุนเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
โครงการ 4
แบรนด์ เบรนด์แคมป์
ด้วยการตระหนักถึงความต้องการกำลังคนด้านดิจิทัลของประเทศ ภาครัฐได้ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างแรงงานด้านดิจิทัล 100,000 คนต่อปี อย่างไรก็ตาม ภาคการศึกษาสามารถผลิตแรงงานด้านดิจิทัลได้เพียง 25,000 คนต่อปี ในฐานะบริษัทผู้นำด้านอาหารเสริมเพื่อสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับ "ศักยภาพของสมอง" ในการช่วยเยาวชนไทยให้ประสบความสำเร็จด้านการศึกษาและอาชีพในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราได้ริเริ่มโครงการ "แบรนด์ เบรนด์แคมป์" ในปี พ.ศ. 2567 เพื่อส่งเสริมศักยภาพสมองผ่านการศึกษาด้าน AI และโคดดิ้ง
เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมในการสร้างความพร้อมให้กับคนรุ่นใหม่เพื่อความสำเร็จในโลกดิจิทัล เราได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคม ดำเนิน 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ เว็บไซต์ BRAND'S Brain Hub กิจกรรม AI Roadshow การอัปเกรดห้องเรียนโคดดิ้ง และการสนับสนุนกิจกรรม Coding War และเพื่อเป็นยกระดับความร่วมมืออย่างเป็นทางการ นายโอเมอร์ มาลิค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ของดีป้า ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567
1 ล้าน 1 ล้าน 1 ล้าน
มูลค่าคอมพิวเตอร์ Micro:Bit ที่มอบให้กับโรงเรียนภายใต้กิจกรรมอัปเกรดห้องเรียนโคดดิ้ง
23,000 23,000 23,000
จำนวนเยาวชน ครู และผู้ปกครอง ที่เข้าร่วมกิจกรรมภายใต้ AI Roadshow เช่น AI Experts' Inspiring Talk และ Coding Bootcamp
การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
เพื่อสนับสนุนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มบริษัทซันโทรี่ เราได้นำหลักการ 3Rs (Reduce-Reuse-Recycle) มาใช้เพื่อส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืนผ่านวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ตั้งแต่การวางแผนและออกแบบ ไปจนถึงการกระจายสินค้าและการรีไซเคิลหลังการบริโภค ทั้งนี้ เราได้ริเริ่ม 2 โครงการสำคัญภายใต้หัวข้อนี้ ได้แก่ "บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน" และ "แบรนด์ แพคแบค"
โครงการ 1
บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน
กระเช้าของขวัญของเรานั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการใช้พลาสติกรีไซเคิลแบบ PCR (Post-Consumer Recycled) และ PIR (Post-Industrial Resin) ถึง 90% เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตฐานวางผลิตภัณฑ์ บางส่วนของกระเช้ายังสามารถนำกลับไปใช้ซ้ำได้ สำหรับขวดแก้ว เราใช้วัสดุรีไซเคิล 63% นอกจากนี้ เรายังปรับใช้วัตถุดิบจากกระดาษเพื่อทดแทนการใช้พลาสติกสำหรับเซ็ตของขวัญโดยทั่วไป
90 % 90 % 90 %
ใช้พลาสติกรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบ 90% ในการผลิตกระเช้าที่ทำจากพลาสติก
63 % 63 % 63 %
ใช้แก้วรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบ 63% ในการผลิตขวดแก้ว
โครงการ 2
แบรนด์ แพคแบค
เราได้ร่วมมือกับสถาบันจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย Bio-Circular-Green (BCG) Economic Model ภายใต้กรอบเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยแนวทางที่วางอยู่บนพื้นฐานการขยายความรับผิดชอบไปสู่ผู้ผลิต หรือ Extended Producer Responsibility (EPR) ความร่วมมือดังกล่าวได้ผลักดันให้เกิดการหมุนเวียนวัตถุดิบของบรรจุภัณฑ์ในภาคการผลิต ผ่านโครงการ "แพคแบค" ที่ส่งเสริมการนำบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับเข้าระบบผ่านกิจกรรม EPR ทั้งนี้ จากการให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักรู้และการส่งต่อองค์ความรู้ เราจึงได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่อง "คัดแยกขยะและบรรจุภัณฑ์เพื่อรีไซเคิล" ให้กับแกนนำครูและนักเรียนคณะทำงานธนาคารขยะทั่วประเทศ โดยเริ่มต้นที่ จ. ชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของโรงงานของเรา พร้อมมอบถังขยะรีไซเคิลให้กับโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการแยกขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลในกลุ่มนักเรียนและครู
15 15 15
โรงเรียนจาก 11 จังหวัด ได้เข้าร่วมในโครงการ
1,515 1,515 1,515
จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาด้านการแยกขยะ
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของกลุ่มบริษัทซันโทรี่ และของประเทศไทยในการเข้าสู่สังคมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เราได้ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสถานที่ผลิตสินค้า กิจกรรมเหล่านี้ประกอบด้วยการปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) การนำเทคโนโลยีประหยัดพลังงานมาใช้ และการเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน
โครงการ 1
การลดการปล่อย CO2 ในกระบวนการผลิต
เราปรับกระบวนการผลิตของทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อลดปริมาณการใช้วัตถุดิบ เราลดปริมาณแก้วที่ใช้โดยลดความหนาและน้ำหนักของขวดแก้วลง 20% ยิ่งไปกว่านั้น เราลดปริมาณกระดาษที่ใช้สำหรับกล่องบรรจุภัณฑ์โดยลดทั้งความหนาและปริมาณกระดาษที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิตลง 20%
200 ตัน/ปี 200 ตัน/ปี 200 ตัน/ปี
ปริมาณแก้วที่ใช้ลดลง 200 ตัน/ปี นำไปสู่การลดการปล่อย CO2 ทั้งหมด 191 tCO2e เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 11,080 ต้น
1,500 ตัน/ปี 1,500 ตัน/ปี 1,500 ตัน/ปี
ปริมาณกระดาษที่ใช้ลดลง 1,500 ตัน/ปี นำไปสู่การลดการปล่อย CO2 ทั้งหมด 1,342 tCO2e เทียบเท่ากับกับการปลูกต้นไม้ 78,050 ต้น
โครงการ 2
การลดปริมาณการใช้น้ำ
เราดำเนินกิจกรรมเพื่อลดการใช้น้ำที่โรงงาน ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพของหม้อต้มน้ำ นำไปสู่การลดปริมาณน้ำเสียที่ต้องกำจัด และการปรับกระบวนการนำความร้อนกลับมาใช้ในการผลิต เพื่อให้สามารถนำน้ำที่เกิดจากการรีไซเคิลกลับมาใช้ได้มากขึ้น โดยเปลี่ยนไอน้ำจากขั้นตอนการผลิตหนึ่ง ให้กลายเป็นน้ำร้อนเพื่อนำมาใช้ในอีกขั้นตอนการผลิตหนึ่ง
180,000
กิโลกรัม/ปี
180,000
กิโลกรัม/ปี
180,000
กิโลกรัม/ปี
การใช้พลังงาน LPG ลดลง 180,000 กิโลกรัม/ ปี จากการเพิ่มประสิทธิภาพหม้อต้มน้ำ นำไปสู่การลดการปล่อย CO2 ทั้งหมด 534 tCO2e เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 31,040 ต้น
33,500
กิโลกรัม/ปี
33,500
กิโลกรัม/ปี
33,500
กิโลกรัม/ปี
การใช้พลังงาน LPG ลดลง 33,500 กิโลกรัม/ปี จากการรีไซเคิลน้ำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิต นำไปสู่การลดการปล่อย CO2 ทั้งหมด 100 tCO2e เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 5,800 ต้น
โครงการ 3
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เราเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนโดยการติดตั้งระบบโซล่าร์บนหลังคาที่โรงงานสาขาปิ่นทอง
1.3 ล้าน
กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี
1.3 ล้าน
กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี
1.3 ล้าน
กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี
ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 1,300,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี นำไปสู่การลดการปล่อย CO2 ทั้งหมด 572 tCO2e เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 33,360 ต้น